วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

การบิรอน กรดดำ

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 
Bangkok Art and Culture Centre หรือหอศิลป์กรุงเทพฯ 



ประวัติความเป็นมาและวัตถุประสงค์
โครงการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 โดยกลุ่มศิลปินร่วมสมัยแห่งประเทศไทยนับพันคนได้จัดแสดงผลงานที่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยหวังให้สังคมเห็นว่า มีศิลปินมากพอที่ควรจะมี หอศิลป์ มาเป็นพื้นที่รองรับในการแสดงออกผลงาน และเก็บรักษาผลงานในอดีตและประวัติศาสตร์ เป็นที่รวมกลุ่มศิลปิน เพื่อพบปะ แลกเปลี่ยนความคิด แนวการทำงาน ผลก็คือการผลักดันให้เกิดการพัฒนาของวงการศิลปะในบ้านเมืองนี้
สมัยของ ดร.พิจิตต รัตตกุลได้รับตำแหน่งเป็นผู้ว่า กทม. มีการผลักดันจนกระทั่ง กทม. มีนโยบายที่จะสร้างหอศิลป์ขึ้น มีการกำหนดพื้นที่ตั้งหอศิลป์ที่บริเวณสี่แยกปทุมวัน และผู้ชนะจากการประกวดแบบหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้แก่ บริษัท Robert G. Boughey & Associates (RGB Architects) ความพร้อมทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2539 แต่ในสมัยของนายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่า กทม. คนต่อมา โครงการหอศิลป์กรุงเทพมหานครถูกรื้อถอนโครงการความคืบหน้าเดิมทิ้งทั้งหมด โดยเปลี่ยนเป็นพื้นที่การค้าตามรูปแบบการใช้พื้นที่แถบนั้น และมีส่วนแสดงศิลปะไว้เล็กน้อย ซึ่งบรรดาศิลปินและคนทำงานศิลปะในหลายแขนงต่างไม่พอใจในการยุบโครงการนี้เป็นอย่างมาก และได้เคลื่อนไหวเรียกร้องมาตลอดสมัยของนายสมัคร สุนทรเวช
จากการเคลื่อนไหวเรียกร้องต่อสู้เพื่อให้มีหอศิลป์โดยเครือข่ายประชาชนและกลุ่มศิลปินที่ยาวนาน จนกระทั่งกรุงเทพมหานคร โดยผู้ว่าราชการฯ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้เล็งเห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรม และได้วางนโยบายด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นนโยบายหลัก โดยมุ่งเน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ของเด็ก เยาวชน และประชาชนในสังคม ให้ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม สภาแห่งกรุงเทพมหานครจึงได้อนุมัติงบประมาณดำเนินการก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 509 ล้านบาท เพื่อผลักดันให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรม ซึ่งหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bangkok Art and Culture Centre or bacc) ได้เริ่มก่อสร้างในที่ดินของกรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกปทุมวัน และได้มีการเปิดโครงการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครอย่างเป็นทางการ เมื่อวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2548

สถานที่ตั้ง
บริเวณสี่แยกปทุมวัน หัวมุมถนนพระรามที่ 1 และถนนพญาไทตรงข้ามมาบุญครอง และ สยามดิสคัฟเวอรี่, มีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สนามกีฬาแห่งชาติ
เวลาทำการ
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เปิดให้เข้าชม ตั้งแต่เวลา 10.00 น. – 21.00 น. ในวันอังคารถึงวันอาทิตย์ ไม่เก็บค่าเข้าชม

การนำเสนองาน
ตัวอาคารสูง 9 ชั้น (บวกอีก 2 ชั้นใต้ดิน) โดยในตัวอาคารถูกออกแบบมาให้เป็นทรงกระบอก ซึ่งสามารถเชื่อมต่อระหว่างอาคารได้ด้วยทางเดินวน เป็นแนวเอียงขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้คนที่เข้ามาชมผลงาน สามารถชมได้ต่อเนื่องในแต่ละชั้น นอกจากนี้ตัวอาคารยังออกแบบมาให้สามารถรับแสงสว่างจากภายนอกได้ โดยที่แสงไม่แรงพอจะที่เข้ามาถึงขนาดทำลายผลงานศิลปะที่แสดงอยู่ข้างในได้ นอกจากห้องนิทรรศการที่มีอยู่หลายส่วนแล้ว ภายในยังมีส่วนที่เป็นห้องสมุดประชาชน, ห้องปฏิบัติการศิลปะ, ห้องอเนกประสงค์ 300 ที่นั่ง, ร้านค้า รวมไปถึงโรงภาพยนตร์-โรงละครขนาด 222 ที่นั่ง
ที่ข้าพได้เข้าในวันนั้นเป็นนิทรรศการชื่อว่า"ไทยเท่"ซึ่งเป็นงานศิลปะเกี่ยวกับเนื้อหาความเป็นไทย วิถีชีวิตของคนไทยในอดีต ปัจจุบัน และจิตกรรมไทยประยุกต์เพื่ออวดสายตาคนต่างชาติได้อย่างสบาย 
การนำแหล่งการเรียนรู้ไปใช่ในการเรียนการสอน
การเรียนศิลปะเราควรทำเด็กเกิดจิตนาการณ์ใหม่ๆและเทคนิคที่หลากหลาย และจำเป็นอย่างยิ่งการเรียนศิลปะไม่ควรเรียนแต่ในห้องเรียนอย่างเดียว เราควรพาเด็กไปเรียนนอกสถานที่บ้างเพระจะทำให้เด็กเกิดจิตนาการณ์มากยิ่ง และเรื่องเทคนิคต่างๆเด็กๆเห็นควรเรียนรู้จากหอผลงานหลายๆชิ้นหลายๆคนเพราะจะทำให้เห็นหลายๆแบบ ซึ่งแต่ละคนจะมีเอกลักษ์หรือเทคนิคไม่เหมือนกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้เด็กๆไปเรียนรู้จากหอศิลป์ไม่ใช่ให้เด็กไปลอกเลียนแบบแต่จะทำเด็กเกิดการเรียนรู้เทคนิคมากขึ้นและเป็นแนวทางแนวคิดมาเป็นของตัวเองเพื่อสร้างงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้น
ข้อเสนอแนะ
จากการไปดูงานศิลปะที่หอศิลป์แห่งนี้แล้ว ทุกๆฝ่ายถือว่าดีทีเดียว