วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

การบิรอน กรดดำ

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 
Bangkok Art and Culture Centre หรือหอศิลป์กรุงเทพฯ 



ประวัติความเป็นมาและวัตถุประสงค์
โครงการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 โดยกลุ่มศิลปินร่วมสมัยแห่งประเทศไทยนับพันคนได้จัดแสดงผลงานที่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยหวังให้สังคมเห็นว่า มีศิลปินมากพอที่ควรจะมี หอศิลป์ มาเป็นพื้นที่รองรับในการแสดงออกผลงาน และเก็บรักษาผลงานในอดีตและประวัติศาสตร์ เป็นที่รวมกลุ่มศิลปิน เพื่อพบปะ แลกเปลี่ยนความคิด แนวการทำงาน ผลก็คือการผลักดันให้เกิดการพัฒนาของวงการศิลปะในบ้านเมืองนี้
สมัยของ ดร.พิจิตต รัตตกุลได้รับตำแหน่งเป็นผู้ว่า กทม. มีการผลักดันจนกระทั่ง กทม. มีนโยบายที่จะสร้างหอศิลป์ขึ้น มีการกำหนดพื้นที่ตั้งหอศิลป์ที่บริเวณสี่แยกปทุมวัน และผู้ชนะจากการประกวดแบบหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้แก่ บริษัท Robert G. Boughey & Associates (RGB Architects) ความพร้อมทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2539 แต่ในสมัยของนายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่า กทม. คนต่อมา โครงการหอศิลป์กรุงเทพมหานครถูกรื้อถอนโครงการความคืบหน้าเดิมทิ้งทั้งหมด โดยเปลี่ยนเป็นพื้นที่การค้าตามรูปแบบการใช้พื้นที่แถบนั้น และมีส่วนแสดงศิลปะไว้เล็กน้อย ซึ่งบรรดาศิลปินและคนทำงานศิลปะในหลายแขนงต่างไม่พอใจในการยุบโครงการนี้เป็นอย่างมาก และได้เคลื่อนไหวเรียกร้องมาตลอดสมัยของนายสมัคร สุนทรเวช
จากการเคลื่อนไหวเรียกร้องต่อสู้เพื่อให้มีหอศิลป์โดยเครือข่ายประชาชนและกลุ่มศิลปินที่ยาวนาน จนกระทั่งกรุงเทพมหานคร โดยผู้ว่าราชการฯ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้เล็งเห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรม และได้วางนโยบายด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นนโยบายหลัก โดยมุ่งเน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ของเด็ก เยาวชน และประชาชนในสังคม ให้ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม สภาแห่งกรุงเทพมหานครจึงได้อนุมัติงบประมาณดำเนินการก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 509 ล้านบาท เพื่อผลักดันให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรม ซึ่งหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bangkok Art and Culture Centre or bacc) ได้เริ่มก่อสร้างในที่ดินของกรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกปทุมวัน และได้มีการเปิดโครงการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครอย่างเป็นทางการ เมื่อวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2548

สถานที่ตั้ง
บริเวณสี่แยกปทุมวัน หัวมุมถนนพระรามที่ 1 และถนนพญาไทตรงข้ามมาบุญครอง และ สยามดิสคัฟเวอรี่, มีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สนามกีฬาแห่งชาติ
เวลาทำการ
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เปิดให้เข้าชม ตั้งแต่เวลา 10.00 น. – 21.00 น. ในวันอังคารถึงวันอาทิตย์ ไม่เก็บค่าเข้าชม

การนำเสนองาน
ตัวอาคารสูง 9 ชั้น (บวกอีก 2 ชั้นใต้ดิน) โดยในตัวอาคารถูกออกแบบมาให้เป็นทรงกระบอก ซึ่งสามารถเชื่อมต่อระหว่างอาคารได้ด้วยทางเดินวน เป็นแนวเอียงขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้คนที่เข้ามาชมผลงาน สามารถชมได้ต่อเนื่องในแต่ละชั้น นอกจากนี้ตัวอาคารยังออกแบบมาให้สามารถรับแสงสว่างจากภายนอกได้ โดยที่แสงไม่แรงพอจะที่เข้ามาถึงขนาดทำลายผลงานศิลปะที่แสดงอยู่ข้างในได้ นอกจากห้องนิทรรศการที่มีอยู่หลายส่วนแล้ว ภายในยังมีส่วนที่เป็นห้องสมุดประชาชน, ห้องปฏิบัติการศิลปะ, ห้องอเนกประสงค์ 300 ที่นั่ง, ร้านค้า รวมไปถึงโรงภาพยนตร์-โรงละครขนาด 222 ที่นั่ง
ที่ข้าพได้เข้าในวันนั้นเป็นนิทรรศการชื่อว่า"ไทยเท่"ซึ่งเป็นงานศิลปะเกี่ยวกับเนื้อหาความเป็นไทย วิถีชีวิตของคนไทยในอดีต ปัจจุบัน และจิตกรรมไทยประยุกต์เพื่ออวดสายตาคนต่างชาติได้อย่างสบาย 
การนำแหล่งการเรียนรู้ไปใช่ในการเรียนการสอน
การเรียนศิลปะเราควรทำเด็กเกิดจิตนาการณ์ใหม่ๆและเทคนิคที่หลากหลาย และจำเป็นอย่างยิ่งการเรียนศิลปะไม่ควรเรียนแต่ในห้องเรียนอย่างเดียว เราควรพาเด็กไปเรียนนอกสถานที่บ้างเพระจะทำให้เด็กเกิดจิตนาการณ์มากยิ่ง และเรื่องเทคนิคต่างๆเด็กๆเห็นควรเรียนรู้จากหอผลงานหลายๆชิ้นหลายๆคนเพราะจะทำให้เห็นหลายๆแบบ ซึ่งแต่ละคนจะมีเอกลักษ์หรือเทคนิคไม่เหมือนกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้เด็กๆไปเรียนรู้จากหอศิลป์ไม่ใช่ให้เด็กไปลอกเลียนแบบแต่จะทำเด็กเกิดการเรียนรู้เทคนิคมากขึ้นและเป็นแนวทางแนวคิดมาเป็นของตัวเองเพื่อสร้างงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้น
ข้อเสนอแนะ
จากการไปดูงานศิลปะที่หอศิลป์แห่งนี้แล้ว ทุกๆฝ่ายถือว่าดีทีเดียว






วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สังเกตุการเรียนการสอนผ่านสื่อในวิชาศิลปะ

สังเกตุการเรียนการสอนผ่านสื่อในวิชาศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)



สื่อที่ใช้ในการสอน
-ตัวอย่างงาน
-วีดีโอ
-Power Point

ประโยชน์
-นักเรียนเกิดจินตนาการณ์จากวีดีโอได้
-ทำให้นักเรียนมีความสนใจมากขึ้น
-สนุกในการเรียน รู้สึกไม่น่าเบื่อ
-นักเรียนสามรถทำได้และจำได้นาน
-เข้าใจง่าย

ปัญหาและอุปสรรค
-เด็กกำหนดแสงเงาไม่เป็น ไม่รู้ว่าแสงมาจากด้านไหน ควรมีชุดเลขาคณิตจริงหรือโมเดลจริงๆเพื่อบอกทิศทางของแสงเงาจริงให้นักเรียนเข้าใจง่ายยิ่ง

ข้อเสนอแนะ
-ครูผู้สอนควรจะสาธิตหรือปฏบัติจริงเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับนักเรียนดู เพราะวิชาศิลปะเป็นวิชาที่จำเป็นต้องปฏิบัติให้นักเรียนดูอยู่แล้ว เพื่อจะได้เข้าใจยิ่งขึ้นและได้เก็บเทคนิคต่างๆอีกมากมาย แค่สอนบนPower Point เด็กอาจไม่เข้าใจเพียงพอ

นวัตกรรมทางการศึกษา

นวัตกรรมทางการศึกษา

การศึกษาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

       การศึกษาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเลิร์นนิง ปัจจุบันบริษัทหลายๆบริษัทได้ใช้ระบบ E Learning โดยระบบการเรียนผ่านออนไลน์นี้มีหลายหลักสูตร เพื่อเป็นสื่อช่วยในการพัฒนาการเรียนรู้ ฝึกฝนทักษะแก่พนักงานในบริษัท ปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยลายๆแห่งได้นำระบบการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านอินเตอร์เนทมาใช้ โดยกำหนดแต่ละหลักสูตร ตามโปรแกรมการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้เข้าถึงการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น มีทั้งระบบการเรียนแบบทางไกลสำหรับนักเรียนที่สมัครเรียนออนไลน์ และสำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าร่วมเรียนในห้องเรียนได้

ประโยชน์
  • ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีเลิร์นนิ่งช่วยลดการเดินทาง ซึ่งจะช่วยลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และลดปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ จากการใช้รถยนต์หรือจักรยานยนต์ส่วนตัวการบันทึกหรือจดโน้ตในรูปแบบดิจิตอลแทนการใช้กระดาษจริง การทำแบบทดสอบในคอมพิวเตอร์แทนการทำแบบทดสอบในกระดาษ ฯลฯ อีเลิร์นนิ่งจึงเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • มีคุณภาพและโอกาสในการเรียนรู้ ผู้สอน ครู หรืออาจารย์ สามารถแบ่งความรู้ข้ามพรมแดนทางกายภาพ ทางการเมือง หรือทางเศรษฐกิจให้กับนักศึกษาหรือผู้สนใจ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับมีโอกาสที่จะทำความรู้ให้ทุกคนที่สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในทุกๆ ที่ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุกในการศึกษาระดับสูง ทำให้การเรียนรู้สามารถเข้าถึงคนเป็นจำนวนมากได้
  • ผู้เรียนได้รับความสะดวกและความยืดหยุ่น อีเลิร์นนิ่งสามารถเป็นการเรียนรู้ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ซึ่งสามารถกำหนดระยะเวลาในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถเข้าถึงบทเรียนได้ตลอดเวลา ผู้เรียนจึงไม่จำเป็นต้องผูกพันกับวันเวลาเรียนที่แน่นอนในการไปเข้าเรียนตามสถานที่ที่กำหนด และผู้เรียนยังสามารถพักการเรียนได้ตามความต้องการ

  • ข้อแตกต่างของการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ กับระบบการเรียนในห้องเรียน
    • สามารถเข้าถึงแต่ละบุคคลได้มากกว่าการเรียนในแบบห้องเรียนรวม
    • เป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในแต่ละหลักสูตร และยังมีประสิทธิภาพใกล้เคียงหรือเทียบเท่า
    • เสียค่าใช้จ่ายน้อยลงหรือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการคัดลอกสำเนาบทเรียน
    • ประหยัดเวลา และไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษา

    วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


    ตร.สั่งฟ้องคดีหมอฟ้องนักเคลื่อนไหวสิทธิผู้ป่วย ละเมิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์แล้ว
    ตร.สุรินทร์สั่งฟ้องแล้ว คดีแพทย์ร้องนักกิจกรรมด้านสิทธิผู้ป่วย นำเข้า "ข้อมูลเท็จ" ตามมาตรา 14(1) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์แล้ว อัยการนัดฟังคำสั่งฟ้อง-ไม่ฟ้องคดี 3 ต.ค.นี้

    สืบเนื่องจากกรณีที่ พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป แห่งประเทศไทย (สพศท.) เป็นโจทก์ฟ้องนางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา นักกิจกรรมด้านสิทธิผู้ป่วย ในข้อกล่าวหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จโดยประการที่น่า จะก่อให้เกิดความเสียหาย ตามมาตรา 14 (1) ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยระบุว่ามีการเผยแพร่ข้อมูลว่ามีผู้เสียชีวิตโดยไม่สมควรจากการรับบริการ ทางการแพทย์ถึงปีละ 65,000 คน รวมถึงภาพกรรไกรในลำคอคน

    นางปรียนันท์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการแจ้งความ ตามหมายนัดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความเห็นสั่งฟ้องคดีดังกล่าว และพนักงานอัยการได้นัดฟังคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดี ในวันที่ 3 ต.ค.นี้ ขณะที่ก่อนหน้านี้ได้เดินทางมารายงานตัวตามหมายเรียกครั้งแรกที่ จ.สุรินทร์แล้วครั้งหนึ่ง โดยเบื้องต้นปฏิเสธข้อกล่าวหาและขอให้การในชั้นศาล

    สำหรับความช่วยเหลือด้านคดี นางปรียนันท์ ระบุว่า ได้ทำหนังสือขอความช่วยเหลือจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ และล่าสุด คณะกรรมการชุดดังกล่าวมีมติให้ความช่วยเหลือ โดยจะมีการประชุมหารือเร็วๆ นี้

    ทั้งนี้ นางปรียนันท์กล่าวว่า การถูกฟ้องด้วยข้อหาเช่นนี้จะไม่ส่งผลต่อการรณรงค์ใดๆ ของตนเอง เพราะมองว่าไม่น่าจะเข้าองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลเท็จนั้นน่าจะเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์มากกว่า นอกจากนี้ ข้อมูลของตนยังมาจากการอนุมานจากสถิติทางการแพทย์ ซึ่งเคยนำเสนอข้อมูลเหล่านี้ในที่ประชุมของวงการแพทย์หลายแห่ง ซึ่งก็ไม่มีผู้ใดโต้แย้ง

    นางปรียนันท์ กล่าวว่า หากมีการสั่งฟ้องในคดีนี้ ก็อาจขอให้มีการนำสืบที่กรุงเทพฯ เนื่องจากการต้องเดินทางไปถึงจังหวัดสุรินทร์นั้นเป็นการเดินทางที่เหนื่อย และกังวลว่าอาจมีการกลั่นแกล้ง เพราะที่ผ่านมา มีการข่มขู่คุกคามสารพัด ขณะที่ ด้านคดี มองว่า น่าจะเป็นผลดี เพื่อจะได้พิสูจน์ว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นเท็จหรือไม่ เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ เพราะที่ผ่านมา ข้อมูลเหล่านี้ถูกปกปิดอยู่เสมอ
    ที่มาของข่าว http://www.prachatham.com/detail.htm?code=n3_20082011_03
    กาบีรอน กรดดำ 53110010391 ทัศนศิลปะศึกษา

    สรุปข่าว
          ฟ้องนางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา นักกิจกรรมด้านสิทธิผู้ป่วย ในข้อกล่าวหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จโดยประการที่น่า จะก่อให้เกิดความเสียหาย โดยระบุว่ามีการเผยแพร่ข้อมูลว่ามีผู้เสียชีวิตโดยไม่สมควรจากการรับบริการ ทางการแพทย์ถึงปีละ 65,000 คน รวมถึงภาพกรรไกรในลำคอคน
    ตรงตาม พรบ คอมพิวเตอร์

        มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ
    ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    วิธีการป้องกัน
        ควรคิดก่อนทำเสมอไม่ว่าจะทำอะไรทั้งสิ้น  คิดหน้าคิดหลังให้ดีเสียก่อน ไม่อย่างนั้นจะแบบนี้ครับ

    วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555







    ประวัติส่วนตัว
    ชื่อ นายกาบีรอน  กรดดำ
    รหัส 53110010391  เอกศิลปกรรมศาสตร์ศึกษา  สาขาทัศนศิลปศึกษา  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    วัน/เดือน/ปี  24 มีนาคม
    ภูมิลำเนา  94 หมู่ 14 ต.คลองเฉลิม อ.กงหรา จ.พัทลุง 93180

    ผลการเรียนที่คาดหวังรายวิชานี้
         เรียนในวิชานี้มีประโยชน์มากสำหรับการไปเป็นครูในอนาคตอย่างยิ่ง เพราะจะได้ผลิตสื่อการเรียนการสอนให้เด็กๆ เพื่อให้เด็กๆเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น และสำหรับผู้ที่จะไปเป็นครูก็จะง่ายในการสอนมากยิ่งขึ้นครับ